ลูกแรกเกิด เด็กงอแง มีปัญหาการนอน ตอนกลางวันหลับยาก หลับได้ไม่นานก็สะดุ้งตื่น พอกลางคืนก็เหมือนหลับไม่สนิท จะทำอย่างไรดี เรามีคำแนะนำมาฝากกันค่ะ
10 สาเหตุที่ทำให้ เด็กงอแง หรือ เด็กแรกเกิดไม่ยอมนอน
1. เด็กงอแง เพราะกินมากเกินไป ไม่สบายตัว
จนมีอาการอึดอัด แน่นท้อง เรียกว่า overfeeding โดยมากมักมีอาการ 5 ข้อต่อไปนี้ หนึ่ง ร้องเป็นแพะเป็นแกะ (แอะๆ แอะๆ) สอง บิดตัวไปมา ร้องเสียงเอี๊ยดอ๊าด สาม มีเสียงครืดคราดในลำคอ เหมือนเสียงหมูกรน สี่ มีอาเจียนหรือแหวะนม ออกทางปากหรือจมูก ห้า พุงกางออกเป็นรูปทรงน้ำเต้า (สังเกตเส้นกว้างที่สุดของอกเทียบกับเส้นกว้างที่สุดของท้อง พบว่าเส้นที่ท้องยาวมากกว่า)
วิธีแก้ไข เมื่อลูกมีอาการแน่นท้อง หลับไม่สนิท ให้จำกัดปริมาณนมที่ลูกกิน ไม่ให้มากเกินไป หากลดปริมาณนมลงได้ อาการดังกล่าวหายไป ลูกจะนอนหลับได้ดีขึ้น ในช่วงที่ยังลดปริมาณนมที่กินยังไม่ได้ การใช้ยาขับลมหรือยาแก้ท้องอืด การจับเรอ อาจบรรเทาอาการได้บ้าง วิธีสังเกตว่าลูกกินนมพอไหม ให้สังเกตจากปริมาณอุจจาระ 2-3 ครั้ง หรือ ปัสสาวะ 6- 8 ครั้งต่อวัน
2.เป็นธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
บางคนหลับแล้วนิ่ง แต่บางคนก็มีดิ้นไปมา แต่ก็ไม่ได้ผิดปกติอะไร กรณีนี้ พ่อแม่อาจดูไม่ออกว่าปกติหรือไม่ แต่แพทย์จะดูออก
วิธีแก้ไข แนะนำให้พ่อแม่อัดวิดีโอมาให้ดู ช่วงวัย 1 เดือนขึ้นไป เด็กมักนอนกลางวันน้อยลง นอนกลางคืนได้ดีขึ้น ถ้ารวมทั้งกลางวันและกลางคืน นับได้ 11 ชม. ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว หากลูกนอนไม่พอ หรือ คุณภาพการนอนไม่ดี จะมีอาการงอแง หงุดหงิด พัฒนาการไม่ดี แต่ถ้าลูกดูปกติดีอยู่ ก็แสดงว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
3. บรรยากาศไม่เหมาะ
ลองสังเกตว่า หากปล่อยให้นอนชั้นล่าง หรือที่มีคนเดินผ่านไปมาทั้งวัน ลูกจะตื่นบ่อยมาก ทั้งๆ ที่ใช้เปลไกวก็ตาม แต่หากพาขึ้นไปนอนชั้นสองที่ไม่มีคนเดินผ่านไปมา จะหลับได้นานถึง 2 ชม. หากคุณแม่จะลงมาทำธุระ ก็จะเปิดอินเตอร์คอมไว้คอยฟังเสียงลูกเวลาตื่น เด็กบางคนหูไวมาก หากอยู่ในที่เงียบๆ แล้วมีเสียงอะไรดังแปลกปลอมขึ้นมา ก็จะตื่นทันที
วิธีแก้ไข แนะนำให้ใช้ white noise คือ การเปิดเสียงอะไรก็ได้ไว้เป็นพื้นฐานเบาๆ ตลอดเวลา เช่น เสียงพัดลมดังหึ่งๆ เสียงวิทยุซ่าๆ เสียงดนตรีบรรเลง หากมีเสียงแปลกปลอมดังขึ้น อาจไม่มีผลกระตุ้นให้ลูกตื่นเหมือนเคย
4.แพ้อาหารที่แม่กิน
เด็กบางคนแม้จะกินนมแม่ แต่หากแม่กินนมวัว แล้วลูกแพ้นมวัว อาจทำให้ลูกมีอาการหายใจครืดคราด มีอาการแพ้ อาการคันตามผิวหนัง ทำให้นอนหลับไม่ดี หรือ อาหารบางอย่างเช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลง โกโก้ ช็อคโกแลต มีคาเฟอีน อาจออกทางน้ำนมแม่ ทำให้เด็กบางคนที่ไวกับคาเฟอีน ถึงแม้ว่าแม่กินแค่วันละแก้วก็อาจส่งผลทำให้หลับยากได้ ขณะที่เด็กส่วนใหญ่ ถ้าแม่กินวันละแก้ว มักจะโอเคไม่ค่อยมีปัญหา
วิธีแก้ไข หากสงสัยว่าลูกมีอาการแพ้อาหาร ให้แม่งดอาหารชนิดนั้นดู แล้วสังเกตว่าลูกอาการดีขึ้นหรือไม่
5. ลูกร้องไห้งอแง เพราะหิว
เมื่อลูกร้องไห้เพราะหิว คุณแม่จะได้ยินลูกร้องเป็นจังหวะด้วยเสียงต่ำๆ สั้นๆ และลิ้นจะพยายามดุนปากเพื่อหานมมาดูด หรือเด็กบางคนก็ดูดกำปั้นตนเอง หากคุณแม่ตอบสนองไม่ทันใจ ลูกจะเริ่มโกรธและร้องไห้ดังขึ้น วิธีแก้ไข ถ้าลูกหิว เมื่อให้นมลูกจะตอบสนองทันที เช่น พออุ้มลูกเข้าหาเต้า ลูกจะส่ายหัวไปมาเพื่อหาหัวนม พอได้กินนมก็จะหยุดร้องไห้
6. อึ ฉี่ ผ้าอ้อมเปียก
เด็กบางคนสามารถอยู่กับผ้าอ้อมเปียกแฉะได้นานๆ แต่เด็กบางคนก็ทนไม่ได้ ซึ่งหากทารกร้องไห้ ถีบขา หรือทำท่าขยับเนื้อตัว คุณแม่ลองเช็กผ้าอ้อมลูกดูว่าเปียกแฉะจนถึงเวลาต้องเปลี่ยนหรือยัง
วิธีแก้ไข สลับสับเปลี่ยนมาใช้ผ้าอ้อมแบบผ้า จะช่วยให้รู้ได้เร็วขึ้นเวลาลูกผ้าอ้อมเปียก ที่สำคัญคือ ลดผดผื่นผ้าอ้อมได้ เพราะหากใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปนาน ๆ อาจทำให้ลูกเปียกแฉะกับสิ่งสกปรกนาน จนเกิดผื่นผ้าอ้อมได้บ่อย ๆ
7. ฟันขึ้น เจ็บเหงือก
เด็กจะเริ่มฟันขึ้นเมื่อประมาณเดือนที่ 5 เมื่อเริ่มปวดๆ ตรงเหงือก ลูกจะร้องไห้พร้อมน้ำลายไหล ช่วงนี้น้ำลายของลูกจะออกมามาก เพราะเมื่อเหงือกได้รับการกระตุ้นด้วยฟันที่เริ่มงอกก็จะทำให้มีน้ำลาย เพิ่มขึ้น เหงือกบวมแดง และเด็กมักจะกัดทุกอย่างที่อยู่ใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นของเล่น มือหรือเท้าของตัวเอง รวมทั้งหัวนมแม่ สังเกตได้ว่าเหงือกของลูกจะมีอาการแดงหรือบวมมากกว่าปกติ
วิธีแก้ไข หากเหงือกของลูกไม่บวมหรือเจ็บมาก และลูกยอมให้คุณแม่สอดนิ้วเข้าไปในปาก ให้ล้างมือให้สะอาดแล้วลองนวดเหงือกของลูกเบาๆ เพราะการนวดจะช่วยให้ลูกผ่อนคลายและช่วยบรรเทาอาการปวดได้ รวมทั้งหาของเย็นๆ ให้ลูกกัด เช่น ยางกัด จุกนมหลอก หรือผ้าสะอาดเปียกหมาดๆ แช่ตู้เย็นแล้วเอามาให้ลูกกัดบรรเทาอาการเจ็บเหงือก
8. ไม่สบาย มีอาการเจ็บป่วย
ไม่มีใครชอบอาการป่วย เด็กก็เช่นกัน หากลูกป่วยคุณแม่จะสังเกตได้ว่าลูกร้องไห้บ่อยและนานกว่าปกติ รวมทั้งมีอาการข้างเคียงคือ มีไข้ ตัวร้อน กระสับกระส่าย ไม่กินนม ฯลฯ
วิธีแก้ไข คอยสังเกตอาการของลูก หากอาการมีไข้ไม่รุนแรง ดูแลที่บ้านก่อนได้ แต่หากมีอาการข้างเคียง ควรรีบพาลูกไปหาคุณหมอ
9. เด็กงอแง อาการโคลิก
อาการร้องโคลิกมักเกิดกับทารกอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ไปจนถึง 3 เดือน ทารกนั้นเมื่อรู้สึกหิว เบื่อ เหนื่อย หรือรู้สึกเปียกชื้นจะดูเหมือนลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ แต่หากมีอาการโคลิกลูกจะร้องไห้หนักมาก และร้องไห้ในช่วงเวลาเดิม ๆ เป็นประจำ โดยเฉพาะเวลาเย็นหรือหัวค่ำ เสียงร้องดัง แหลม และนานกว่าปกติ โดยรวมแล้วจะร้องไห้ประมาณวันละ 3 ชั่วโมง มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และร้องยาวนานติดกันเกือบ 1 เดือนหรือบางรายอาจนานกว่านั้น และอาจมีอาการดีขึ้นเมื่ออายุประมาณ 3-4 เดือน
วิธีแก้ไข หากลูกร้องโคลิก ให้คุณแม่อุ้มลูกไว้ในอ้อมแขนแล้วโยกไปมาเบาๆ หรือนั่งโยกตัวบนเก้าอี้โยก ให้ลูกรู้สึกถึงความใกล้ชิดกับคุณแม่ หรืออุ้มลูกออกไปเดินเปลี่ยนบรรยากาศภายนอก อาจช่วยให้ลูกสงบลงได้ (อ่านเรื่องเกี่ยวกับโคลิค)
10. เรียกร้องความสนใจ
ลูกไม่มีคนเล่นด้วยจนรู้สึกเหงา เบื่อ จึงร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจ เพราะเด็กๆ นั้นเขามีความสุขเมื่อมีคนที่เขาคุ้นเคยอยู่ด้วย
วิธีแก้ไข ระหว่างพาลูกเข้านอนให้ชวนลูกคุย หรือร้องเพลงกล่อมรอจนลูกหลับ แต่หากไม่ว่างจะมาคุยหยอกล้อกับลูกจริง ๆ แค่การไกวเปลให้รู้ว่ามีคนอื่นอยู่กับเขาด้วย เขาก็อุ่นใจแล้ว
ผลิตภัณฑ์ใยไผ่ NAPPI นุ่มมาก สบายกับผิว
✅ ระบายอากาศได้ดี ซึมซับน้ำดีเยี่ยม
✅ ไม่มีสารเคมี ไม่มีพทาเลท (Phthalate) โลหะหนัก หรือ สารเรืองแสง
✅ ทุกขั้นตอนในการพิมพ์ และย้อมผ้า ปราศจากสารพิษ
✅ ใช้สีย้อม Non-Toxic
✅ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
✅ ผ่านการรับรองมาตรฐาน OEKO-TEX Standard 100 Class I จากเยอรมัน ด้วยเหตุผลนี้ แม่ ๆ จึงหันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติกันมากขึ้น เพราะปลอดภัยกับลูกเล็ก ๆ ที่ผิวยังต้องสัมผัสกับผ้าอ้อมเป็นเวลานาน ๆ หากผ้าอ้อมไม่สะอาด ไม่ปลอดภัย มีสารเคมี หรือไม่นุ่มผิวพอ ก็ทำให้ลูกแพ้ระคายเคืองกันได้ง่าย ๆ สั่งซื้อ สอบถามข้อมูล ของใช้เด็กแรกเกิด ของใช้เด็กอ่อน ผ้าอ้อมใยไผ่ ผลิตภัณฑ์เด็กใยไผ่ NAPPI
Facebook: Nappi Baby Thailand
Website: www.nappibaby.com
Line: @nappibaby
Instagram: @nappibabyth