พัฒนาการเด็ก 1 เดือน เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

ช่วง 1 เดือนแรก เป็นช่วงเวลาที่อาจจะดูเหมือนยาวนานของแม่มือใหม่ เพราะมีเรื่องที่ต้องรับมือ ปรับตัวกันมาก ตั้งแต่ลูกลืมตาขึ้นมา พัฒนาการของลูกในช่วงเดือนแรก อาจมีหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มาดูกันว่า พัฒนาการเด็ก 1 เดือน มีอะไรบ้าง แต่ในเด็กแต่ละคนอาจมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน

พัฒนาการเด็ก 1 เดือน เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

การเจริญเติบโต ไม่ต้องตกใจไปถ้าช่วง 2-3 วันแรก น้ำหนักตัวลูกจะลดลงจากตอนแรกเกิด เป็นเพราะในร่างกายของลูกมีของเหลวบางส่วน ประมาณ 10% ของน้ำหนักตัวแรกคลอด ที่ต้องถูกกำจัดออกไป แล้วหลังจากนี้น้ำหนักตัวลูกจะเริ่มคงที่ และค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ในช่วงเดือนแรกนี้ น้ำหนักตัวลูกจะขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยอาจจะเพิ่มถึง 15-30 กรัมต่อวัน พอถึงวันครบกำหนดพาลูกไปตรวจ ควรไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คุณหมอช่วยดูว่าน้ำหนักลูกขึ้นตามเกณฑ์ดีไหม

พัฒนาการกล้ามเนื้อ พัฒนากล้ามเนื้อต่างๆ กำลังค่อย ๆ พัฒนา ตั้งแต่แรกเกิดลูกจะเรียนรู้การดูดกลืน และดูดนมได้ กล้ามเนื้อคอลูกยังไม่แข็งแรงนัก ลูกอาจจะหันศีรษะไปมาได้ อาจจะยกศีรษะได้เล็กน้อย แต่เวลาอุ้มก็ยังต้องประคองต้นคอลูกไว้ให้ดีด้วย การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อช่วงเดือนแรกจะเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับเสียมากกว่า ลูกอาจจะกำมือได้ หรือเวลาที่เอานิ้วให้ลูกจับลูกจะกำนิ้วมือพ่อแม่ได้

การนอน ทารกแรกเกิด ช่วง ลูก 1 เดือนแรก นอกจากการกินแล้ว ก็จะใช้เวลาส่วนใหญ่กับการนอน อย่าตกใจหากลูกจะนอนในแต่ละวันถึง 15-16 ชั่วโมง ช่วงนี้ลูกนอนวันละหลายชั่วโมงก็จริง แต่เป็นการนอนหลับแบบ REM Sleep ที่ไม่ได้หลับลึกมาก ทำให้ลูกตื่นง่าย ตื่นบ่อย แม่ควรเริ่มปรับพฤติกรรมการนอนของลูกตั้งแต่แรกเกิดให้ลูกรู้จักกลางวัน กลางคืน โดยการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ช่วงลูกตื่นกลางวันให้เล่นกับลูกในช่วงนี้ แล้วพอช่วงกลางคืนให้พยายามทำให้ห้องมืด และเงียบ ไม่ต้องเล่นกับลูก เพื่อให้ลูกเรียนรู้ปรับตัวจะได้นอนได้เป็นเวลา

ประสาทสัมผัส สายตาของลูกในช่วง 1 เดือนแรก ยังมองเห็นไม่ชัดนัก ลูกจะมองเห็นที่ระยะประมาณ 8-12 นิ้ว ซึ่งคือระยะที่ลูกมองเห็นหน้าแม่เวลาที่กำลังให้นมลูก ช่วงนี้เวลาลูกจ้องมองอาจจะมองข้ามไปสายตาไม่โฟกัส ถือว่าปกติเพราะช่วง 1 เดือนแรก ยังไม่สามารถควบคุมการมองเห็นได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าผ่านไป 3-4 เดือน สายตาลูกยังไม่โฟกัส ไม่มองตอบกลับ ควรรีบปรึกษากุมารแพทย์ว่าลูกอาจมีปัญหาเรื่องการมองเห็น

  • การได้ยินของลูกถึงยังพัฒนาไม่เต็มที่ในช่วงเดือนแรก แต่ลูกจะจดจำเสียงพ่อแม่ได้ดี โดยเฉพาะหากพ่อแม่พูดคุยกับลูกตั้งแต่ลูกอยู่ในท้อง ช่วงนี้ลูกจะชอบเสียงสูง ๆ เวลาคุยอาจทำเสียงสอง เสียงเล็กเสียงน้อยคุยกับลูก ลูกจะสนใจเป็นพิเศษ
  • ลูกจะชอบรสหวานมากกว่ารสอื่น และปุ่มรับรสของลูกยังไม่สามารถแยกรสขมกับเปรี้ยวออกจากกันได้
  • ประสาทสัมผัสการรับกลิ่นลูกในช่วงเดือนแรก ลูกจะจดจำกลิ่นของแม่ เต้านมแม่ กลิ่นนมแม่ ได้ตั้งแต่ภายใน 2-3 วันแรกหลังคลอด

การกิน ช่วง 6 เดือนแรก ควรให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียว เพราะพัฒนาการของทางเดินอาหาร ระบบการย่อยอาหารของลูกยังไม่สมบูรณ์ นมแม่มีสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ และมีสารภูมิต้านทานที่ดีกับร่างกายของลูกที่สุด หากให้กินอาหารอย่างอื่นนอกจากนม ก่อน 5-6 เดือนแรก อาจทำให้เกิดลำไส้อุดตัน อันตรายถึงชีวิตได้ เดือนแรก ลูกจะกินนมมากถึงวันละ 12 ครั้ง โดยกินทุก 2-3 ชั่วโมงเลย ซึ่งสัญญาณที่บอกว่าลูกกินนมพอไหมคือ ลูกขับถ่าย ฉี่ มากน้อยแค่ไหน โดยลูกควรต้องฉี่หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมที่เปียกวันละ 4-6 ครั้ง คุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไป หากลูกเรามีพัฒนาการไม่เหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ เพราะพัฒนาการของเด็กแต่ละคนช้า เร็ว ต่างกันได้ ขอเพียงลูกเป็นเด็กที่แข็งแรง สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ อารมณ์ดี สดใส สบายตัวในทุกวัน ๆ เพราะถ้าลูกสบาย งานเลี้ยงลูกก็จะไม่ใช่เรื่องยาก

พัฒนาการเด็ก 1 เดือน

เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 1 เดือน

ทารกวัยนี้ชอบการสัมผัส อาจเป็นเพราะยังคุ้นเคยกับการอยู่ในมดลูก ลูกในช่วงแรกเกิด ต้องการความอบอุ่นจากโอบกอด หรือการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ (skin-to-skin contact) มากเป็นพิเศษ แม่จึงควรอุ้มลูกไว้แนบอกแล้วค่อย ๆ โยกตัวไปมาเบา ๆ เหมือนการไกวเปล จะช่วยให้ลูกสัมผัสถึงความอบอุ่นจากแม่ ช่วยให้หลับยาว หรืออาจจะใช้วิธีการนวดสัมผัสเบา ๆ ลูบไล้ตามตัวจะช่วยให้ลูกสบายและรับสัมผัสถึงความรักจากแม่ได้ดี

กายบริการท่าปั่นจักรยาน ตอนที่ลูกนอนลองจับขาลูกงอ แล้วยืดขึ้นลงเหมือนทำท่าปั่นจักรยานกลางอากาศ เป็นท่าที่ช่วยออกกำลังกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของลูก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลาน การเดินของลูก แล้วท่านี้ยังช่วยขับลม ช่วยให้ลูกสบายท้อง ลดอาการท้องผูกได้อีกค่ะ

3 วิธีกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 1 เดือน

พัฒนาการของลูกสามารถส่งเสริมได้ตั้งแต่แรกเกิด พ่อแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ด้านต่างๆ ของเด็กตามช่วงวัยต่าง ๆ 1. พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ลูก 1 เดือน ท่านอนคว่ำ เด็กสามารถยกศีรษะ และหันศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่งได้ อุปกรณ์ ของเล่นมีเสียงกรุ๊งกริ๊ง วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  • จัดให้ลูกอยู่ในท่านอนคว่ำ เขย่าของเล่นที่มีเสียงตรงหน้าลูก ระยะห่างประมาณ 1 ฟุต เมื่อลูกมองที่ของเล่น แล้วค่อย ๆ เคลื่อนของเล่นมาทางด้านซ้าย เพื่อให้ลูกหันศีรษะมองตาม
  • ค่อย ๆ เคลื่อนของเล่นกลับมาอยู่ที่เดิม
  • ทำซ้ำไปเปลี่ยนไปด้านขวาบ้าง จะช่วยกระตุ้น ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของลูก

2. พัฒนาการด้านภาษา ลูก 1 เดือน เด็กมีการสะดุ้ง หรือเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อได้ยินเสียงพูด วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  • จัดลูกให้อยู่ในท่านอนหงาย พ่อแม่ลองเรียกชื่อ หรือพูดคุยกับลูกจากทางด้านข้าง ทั้งข้างซ้ายและขวา โดยพูดเสียงดังปกติ
  • หากลูกสะดุ้งหรือขยับตัว เมื่อพ่อแม่พูดคุยเสียงปกติ ให้พ่อแม่ยิ้มและสัมผัสตัวลูก
  • ถ้าลูกไม่มีปฎิกิริยาใด ๆ ให้พูดเสียงดังเพิ่มขึ้น หากลูกสะดุ้ง หรือขยับตัวให้ลดเสียงลง แล้วสัมผัสตัวลูก

3. พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม ลูก 1 เดือน ลูกสามารถจ้องหน้าได้นาน 1-2 วินาที วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  • จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย หรืออุ้มให้หน้าห่างจากพ่อแม่ประมาณ 1 ฟุต
  • สบตา และทำตาลักษณะต่าง ๆ เช่น ตาโต กะพริบตา เพื่อให้ลูกสนใจ
  • พูดคุย ยิ้ม เพื่อให้ลูกมองที่ปากแทนสลับกันไป

ทิปส์​ อาจทำขณะอาบน้ำ แต่งตัว หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก หรืออุ้มลูกให้หันมาทางพ่อแม่ แล้วทำหน้าตา ส่งเสียงให้ลูกสนใจ เมื่อลูกมองตาให้พูดคุย และยิ้มให้ลูกด้วย

??????

ผ้าอ้อม ผ้าสาลูใยไผ่ ผลิตจากเส้นใยของต้นไผ่ ซึ่งผ้าใยไผ่มีคุณสมบัติที่นุ่มมากเป็นพิเศษ ทำให้ลูกสบายผิว ไม่ระคายเคืองเมื่อเทียบกับผ้าใยสังเคราะห์หรือผ้าคอตตอนทั่วไป ผ้าใยไผ่ระบายอากาศได้ดี ซึมซับน้ำดีเยี่ยม ช่วยระบายอากาศ นุ่มสบายผิว ลดผดผื่นแพ้ระคายเคืองผิว

ผลิตภัณฑ์ใยไผ่ NAPPI นุ่มมาก สบายกับผิว

✅ ระบายอากาศได้ดี ซึมซับน้ำดีเยี่ยม
✅ ไม่มีสารเคมี ไม่มีพทาเลท (Phthalate) โลหะหนัก หรือ สารเรืองแสง
✅ ทุกขั้นตอนในการพิมพ์ และย้อมผ้า ปราศจากสารพิษ
✅ ใช้สีย้อม Non-Toxic
✅ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
✅ ผ่านการรับรองมาตรฐาน OEKO-TEX Standard 100 Class I จากเยอรมัน

ด้วยเหตุผลนี้ แม่ ๆ จึงหันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติกันมากขึ้น เพราะปลอดภัยกับลูกเล็ก ๆ ที่ผิวยังต้องสัมผัสกับผ้าอ้อมเป็นเวลานาน ๆ หากผ้าอ้อมไม่สะอาด ไม่ปลอดภัย มีสารเคมี หรือไม่นุ่มผิวพอ ก็ทำให้ลูกแพ้ระคายเคืองกันได้ง่าย ๆ

ผ้าใยไผ่ ผลิตภัณฑ์ใยไผ่ ผลิตภัณฑ์เด็ก NAPPI สั่งซื้อ สอบถามข้อมูล ของใช้เด็กแรกเกิด ของใช้เด็กอ่อน ผ้าอ้อมใยไผ่ ผลิตภัณฑ์เด็กใยไผ่ NAPPI 

Facebook: Nappi Baby Thailand
Website: www.nappibaby.com
Line: @nappibaby
Instagram: @nappibabyth