อัพเดทล่าสุด: 19 เม.ย. 2024
445 ผู้เข้าชม
ผื่นผ้าอ้อม ไม่ได้เกิดจากตัวผ้าอ้อมโดยตรง แต่เกิดเนื่องจากผลของการใช้ผ้าอ้อม เช่น การเสียดสี ความร้อน อบ อับ เปียกชื้น เหงื่อที่ผิวหนังและปัสสาวะและอุจจาระที่ติดอยู่ที่ผ้าอ้อม และการดูแลผิวหนังบริเวณนั้นไม่ถูกต้องทำให้ผิวหนังเปียกชื้นและสัมผัสกับปัสสาวะและอุจจาระเป็นเวลานานจนเกิดการระคายเคือง เป็นผื่นแดง เปื่อยเป็นแผลและอาจติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราซ้ำเติม แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ ผื่นผ้าอ้อมถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งทารกในช่วงอายุ 4 ถึง 15 เดือนเป็นกันมากกว่าครึ่งเลยทีเดียว
ลักษณะผื่นผ้าอ้อม ที่เจอบ่อย
ผื่นผ้าอ้อม ที่เจอบ่อย ๆ ในเด็ก มักเกิดบริเวณผิวหนังส่วนที่เสียดสีกับผ้าอ้อมของทารก เช่น บริเวณอวัยวะเพศ ต้นขา และก้น อาจเป็นรอยบวมแดง เกิดจากการที่ผิวหนังเสียดสีกับผ้าอ้อม สัมผัสกับสารเคมีหรือน้ำหอมในผ้าอ้อมสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์ซักผ้า
ลักษณะผื่นของทารก อาจเกิดได้หลายสาเหตุ
ผื่นแพ้จากการสัมผัส (Contact Dermatitis) ผื่นคันจากความเปียกชื้นหรือการเสียดสีของผ้าอ้อม
ลักษณะ
- มักเกิดบริเวณผิวหนังส่วนที่เสียดสีกับผ้าอ้อมของทารก เช่น บริเวณอวัยวะเพศ ต้นขา และก้น อาจเป็นรอยบวมแดงได้ค่ะ
สาเหตุ: - ผิวหนังเสียดสีกับผ้าอ้อม
- สัมผัสกับสารเคมีหรือน้ำหอมในผ้าอ้อมสำเร็จรูป หรือ ผลิตภัณฑ์ซักผ้า
- ความเปียกชื้นนั่นเอง แม้คุณแม่จะเลือกผ้าอ้อมที่ซึมซับได้ดีที่สุด แต่เรื่องความอับชื้นนั้นก็ถือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และยิ่งเมื่อแบคทีเรียจากอุจจาระผสมเข้ากับปัสสาวะของทารกด้วยแล้ว ก็อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่รุนแรงต่อผิวทารกได้
การป้องกันผื่นแพ้จากการสัมผัส ดังนั้นแนะนำให้คุณแม่คอยเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยบ่อย ๆ เพื่อลดการอับชื้นค่ะแต่อย่างไรก็ตาม ผื่นผ้าอ้อมแบบนี้ก็มีโอกาสเกิดซ้ำได้อีก สำหรับทารกที่มีผิวบอบบางแพ้ง่าย หรือถ้าเมื่อไหร่ที่ไม่สบาย และต้องกินยาปฏิชีวนะ ก็อาจเกิดผลข้างเคียงคือท้องเสีย ซึ่งทำให้ต้องถ่ายบ่อย และเกิดความอับชื้นได้ ก็จะมีโอกาสเกิดผื่นผ้าอ้อมได้ง่ายเช่นกันค่ะ
ผื่นจากการติดเชื้อรา (Candida)ลักษณะ - ผื่นผ้าอ้อมแบบนี้ จะมีลักษณะเป็นรอยผื่นจุดแดงๆ เล็กๆ หรือกลายเป็นผื่นสีแดง เข้มผิวมันเงา เป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ มีขอบชัดเจน และกระจายเป็นบริเวณกว้างหรือเป็นปื้น ผิวหนังส่วนที่ติดเชื้อรานี้จะเป็นสีแดง ซึ่งผิวทารกที่บอบบางมากอาจรู้สึกเจ็บได้เมื่อถูกสัมผัส
- ผื่นชนิดนี้สามารถกระจายไปตามรอยพับต่าง ๆ ผิวรอบๆ อวัยวะเพศและขาของน้องได้นะคะ และส่วนใหญ่แล้วผื่นชนิดนี้จะไม่ปรากฏแค่ที่ก้นเพียงจุดเดียว แต่จะแพร่ลามไปยังบริเวณอื่นด้วยค่ะ
สาเหตุ ผื่นจากการติดเชื้อรานี้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
- ความเปียกชื้น
- จากการทานยาปฏิชีวนะเพราะว่ายาปฏิชีวนะจะลดการเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งช่วยตรวจจับเชื้อราได้ ในเด็กทารกบางคนที่เป็นเชื้อราในปาก (Thrush) ก็อาจทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมจากการติดเชื้อราได้เช่นกันค่ะ ถ้าหากคุณแม่พบว่าน้องมีโอกาสเป็นผื่นชนิดนี้ แนะนำให้พาน้องไปพบแพทย์จะดีที่สุดนะคะ
ผื่นคันที่เกิดจากต่อมไขมันอักเสบ (Seborrhea)
ลักษณะ
- ผื่นคันที่เกิดจากต่อมไขมันอักเสบนั้นเป็นชนิดที่พบได้น้อยค่ะ ผื่นชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นผื่นบวมแดง มักเป็นวงใหญ่ตะปุ่มตะป่ำอยู่บนผิว โดยผื่นจะลามจากบริเวณท้องน้อยไปยังขาหนีบ
สาเหตุ
- ไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน
- ในช่วงหนึ่งมีผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าผื่นคันชนิดนี้เป็น โรคผิวหนังที่ เกิดจากต่อมไขมันอักเสบ (Cradle cap) ซึ่งเกิดจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังผลิตไขมันออกมามากเกินไป
- ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าต่อมไขมันเหล่านี้ถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมนที่ทารกได้รับจากพ่อแม่ก่อนที่เขาจะเกิดค่ะ
- แต่การวิจัยในเวลาต่อมาก็ให้ผลที่ไม่สอดคล้องกับความเชื่อนี้ ดังนั้น ถ้าหากคุณแม่พบว่าลูกเป็นผื่นชนิดนี้ แนะนำให้พาไปพบแพทย์จะดีที่สุด
ผื่นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
ลักษณะ
- ผื่นชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผลสะเก็ดสีเหลือง อาจมีน้ำเหลืองไหลออกมา หรือเป็นสิวแบบมีหนอง แสดงว่าน้องอาจติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น อิมเพทิโก (Impetigo)
สาเหตุ
แบคทีเรียคือสาเหตุของผื่นคันชนิดนี้ ถ้าหากคุณแม่พบว่าน้องมีอาการข้างต้น แนะนำให้พาไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
วิธีป้องกันผื่นผ้าอ้อมที่ดีที่สุด คือ - การรักษาก้นของทารกให้แห้งอยู่เสมอ คุณแม่จึงควรหมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมให้น้องบ่อย ๆ
- ทำความสะอาดอวัยวะเพศของน้องทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าอ้อม โดยใช้ผ้าแตะซับผิวของน้องเบา ๆ ให้แห้ง ระวังอย่าใช้ผ้าถู เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้
- อย่าใส่ผ้าอ้อมให้แน่นจนเกินไป การสวมเสื้อผ้าและผ้าอ้อมให้ทารก ควรให้มีช่องว่างหลวม ๆ พอที่จะให้อากาศระบายได้
- ควรหลีกเลี่ยงผ้าที่แนบติดตัว เช่น กางเกงผ้าพลาสติกแน่น ๆ
- ไม่ควรซักผ้าอ้อมด้วยผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่ผสมน้ำหอม และไม่ควรใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม เพราะทั้งสองอย่างนี้อาจทำให้ผิวของลูกน้อยระคายเคืองได้
- ให้ทารกกินนมแม่ให้นานที่สุดอาจช่วยได้ เพราะว่านมแม่จะช่วยลดค่า ph ในอุจจาระได้ ทำให้มีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้โดยทั่วไปแล้ว การให้น้อง กินนมแม่ยังช่วยกระตุ้นให้เขามีภูมิคุ้มกันต้านทานการติดเชื้อ ทำให้ทารกมีโอกาสใช้ยาปฏิชีวนะ น้อยลง ซึ่งยาปฏิชีวนะนี้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้องเป็นผื่นผ้าอ้อมได้ด้วยค่ะ
- พยายามหยุดการใช้ผ้าอ้อมหรือใส่ผ้าอ้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้แม้จะอยู่ในห้องแอร์ และเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกบ่อย ๆ (อย่างน้อยทุกๆ 2-3 ชั่วโมงหรือทุกครั้งที่ลูกถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ) เพื่อช่วยให้ผิวหนังของลูกได้สัมผัสอากาศมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผิวลูกจะได้แห้ง ไม่เปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา
การรักษาผื่นผ้าอ้อม ถ้าลูกเป็นผื่นผ้าอ้อม
- ต้องลดเวลาการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปลงไปอีกเรื่อย ๆ
- ดูแลผิวลูกให้ถูกต้องและดีขึ้นอีกจนกระทั่งลูกไม่มีปัญหาผื่นผ้าอ้อมอีก
- เมื่อลูกปัสสาวะหรืออุจจาระควรถอดเปลี่ยนผ้าอ้อม แล้วทำความสะอาดผิวหนังส่วนที่อยู่ในผ้าอ้อมเบาๆ ด้วยน้ำเปล่า หรือสบู่ไร้ด่าง หลังทำความสะอาดผิวหนังบริเวณผ้าอ้อมของลูก ควรเช็ดให้แห้ง ปล่อยให้ผิวหนังลูกสัมผัสกับอากาศก่อนแล้วจึงทาด้วยครีมหรือ Ointment ที่มีZinc Oxide หรือ Petrolatum (วาสลีน ) หรือ dimethicone เพื่อเคลือบปกป้องผิวไม่ให้เกิดการระคายเคือง
- ไม่ควรทาแป้งบริเวณขาหนีบและอวัยวะเพศของลูกเพราะแป้งจะจับกับเหงื่อที่ออกในบริเวณนั้นกลายเป็นคราบหรือก้อนแป้งชื้นๆแฉะ ๆ ทำให้ผิวชื้นแฉะตลอดเวลา และสามารถเกิดอาการระคายเคืองและเป็นผื่นผ้าอ้อมง่ายขึ้น
- ควรพาลูกไปพบแพทย์หากดูแลรักษาตามวิธีข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หรือเมื่อสงสัยว่าลูกอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นตุ่มหนอง หรือ เป็นผื่นเนื่องจากเชื้อรา
แหล่งข้อมูล
www.oknation.net
Napkin dermatitis
Treatment for Nappy Rash
ผื่นผ้าอ้อม
อับชื้นกับผื่นผ้าอ้อม
ผื่นผ้าอ้อม ป้องกันและรักษาได้, หมอสังคม